Sculptra คืออะไร ราคาเท่าไหร่ ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนได้อย่างไร
ฟิลเลอร์ Definisse ต่างจากยี่ห้ออื่นอย่างไร ฉีดจุดไหนได้บ้าง
อัพเดตเทคนิคการรักษาใหม่ล่าสุด MD Codes หลักการหรือแนวทางในการฉีดฟิลเลอร์
cover-atita-2024---cover-the-master---radiesse2
cover-atita-2024---cover-the-master---radiesse
cover-atita-2024---cover-the-master---sculptra
cover-atita-2024---cover-italy
cover-atita-2024---cover-MDCODE
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow

ทำความเข้าใจกับ “สิวขึ้นที่คาง” เกิดได้อย่างไร

เรื่องของสิวไม่ว่าจะเกิดที่บริเวณไหน ก็ล้วนเป็นปัญหากวนใจทั้งนั้น และที่สำคัญสิวมักชอบเกิดบริเวณคาง มาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า ว่าสิวที่คางเกิดจากอะไร มีกี่แบบ แล้วเพราะเหตุใดสิวบริเวณนี้ถึงชอบเกิดซ้ำ รวมทั้งวิธีการรักษาสิวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีที่ช่วยให้รักษาสิวได้อย่างตรงจุด และป้องกันการดื้อยา ติดตามได้ในบทความนี้เลย

สิวขึ้นที่คางกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่พบว่าสิวขึ้นที่คาง มักเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเป็นส่วนใหญ่  หากร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อในปริมาณที่สูงขึ้น จะส่งผลกระทบให้บริเวณต่อมไขมันเกิดการสร้างซีบัม (Sebum) มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน และเกิดสิวได้

สำหรับผู้หญิงในช่วงใกล้มีประจำเดือน จะพบว่าร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgens) สูงกว่าปกติ ซึ่งจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันสร้างซีบัมออกมามากกว่าปกติ จึงมักเกิดสิวโดยเฉพาะบริเวณคาง และ T-zone ได้ ในช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ 

นอกจากนี้สิวขึ้นที่คาง ก็อาจเกิดจากการทำงานของแบคทีเรีย P.acnes หรือ C.acnes ซึ่งมีสาเหตุมาจากผิวหนังที่ผลัดเซลล์ผิวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการอุดตันรูขุมขน เมื่อมีการเกาะตัวรวมกับเคราติน (Keratin) และน้ำมันจากต่อมไขมัน (Sebum) ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการเจริญเติบโต และเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวชนิดนี้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้จะย่อยอาหารโดยใช้เอนไซม์ lipase และ Hyaluronate Lyase จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และสิวอุดตัน (Comedones) ขึ้นมาได้

สิวขึ้นที่คางมีกี่แบบ

สิวขึ้นที่คางมีหลายชนิด การรู้จักชนิดของสิว จะช่วยให้รักษาสิวได้ตรงจุด โดยสิวขึ้นที่คาง ใต้คาง และบริเวณกรอบหน้า แบ่งออกเป็น 5 ชนิดหลักๆ ดังนี้

สิวอักเสบ

สิวอักเสบ (Inflammatory acne) เป็นสิวขึ้นที่คางที่เกิดจากผิวหนังมีแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P.acnes) เจริญเติบโตอยู่ในตุ่มสิว ทำให้เกิดสิวอักเสบ เพราะสามารถดึงดูดเม็ดเลือดขาวเข้ามาในตุ่มสิว กระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น และยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยน้ำมัน (Sebum) ในตุ่มสิวให้กลายเป็นกรดไขมันที่มีฤทธิ์ส่งผลให้เกิดการอักเสบอีกด้วย

สิวอักเสบที่คางมีความรุนแรงหลายระดับแตกต่างกันออกไป เช่น มีขนาดตุ่มเล็กๆ ไปถึงขนาด ตุ่มใหญ่เป็นหนอง ที่เรียกว่า สิวหัวหนอง (Pustule) อาจพบอาการปวดร่วมด้วยได้

สิวไม่มีหัว

สิวไม่มีหัวเป็นชื่อเรียกที่ใช้กันสำหรับสิวที่บีบหัวสิวออกไม่ได้ หรือบีบออกได้ยาก เป็นการอุดตันอยู่ในชั้นลึกของผิวหนัง อาจเป็นได้ทั้งสิวตุ่มนูนแดง (Papules) สิวหัวขาว สิวตุ่มนูน สิวไต และสิวหัวช้าง มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงปานกลาง สิวชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดการเจ็บปวดมากนัก แต่ส่งผลให้รำคาญใจ และเสียความมั่นใจได้ อย่างไรก็ตาม สิวขึ้นที่คางประเภทนี้ ไม่ควรบีบหรือกดสิวออกมา เพราะจะทำให้อักเสบจะมากยิ่งขึ้น จนทำให้รู้สึกเจ็บปวดในยามสัมผัส

สิวอุดตัน

สิวอุดตัน (Comedones) เป็นสิวขึ้นที่คางที่เกิดจากการสะสมไขมันส่วนเกินใต้ชั้นผิว ร่วมกับมีสิ่งสกปรกตกค้างในรูขุมขน ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง ฝุ่นควัน เครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งเซลล์ผิวหนังของเราที่ตายแล้ว จนเกิดการอุดตันขึ้น เมื่อเกิดการอุดตันแล้ว อาจนำไปสู่การเกิดสิวอักเสบได้อีกด้วย

สิวเสี้ยน

สิวเสี้ยน (Trichostasis Spinulosa) เป็นสิวขึ้นที่คางที่จริงๆ แล้ว เกิดจากความผิดปกติของการสร้างขน โดยปกติรูขุมขนหนึ่งควรมีเส้นขน 1 – 4 เส้น แต่ถ้ารูขุมขนมีการสร้างเส้นขนเยอะมากกว่าปกติ จะมีเส้นขน 5 – 25 เส้นภายในรูขุมขนเดียว ซึ่งจะเกิดเป็นสิวเสี้ยน ลักษณะดูคล้ายกับสิวอุดตันหัวเปิด หรือสิวหัวดำ โดยมีลักษณะเส้นขนจะเหมือนกับเสี้ยนสีดำพ้นออกมาจากผิวหนังเล็กน้อย

สิวผด

สิวผด (Acne aestivalis หรือ Acne mallorca) จริงๆ แล้วไม่ใช่สิว แต่คนส่วนใหญ่มักเรียกว่าสิว สิวผดเกิดจากรูเปิดต่อมเหงื่อบวม ซึ่งอาจเกิดจากการกระตุ้นโดยรังสี UVA และ UVB จากแสงแดด กระตุ้นให้ต่อมเหงื่อเกิดการอักเสบ หรืออาจเกิดจากเชื้อรา P.ovale ได้

ลักษณะของรอยโรคจะเป็นผื่นตุ่มขนาดเล็ก คล้ายสิวหัวปิดหรือสิวตุ่มแดง และคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสิวขึ้นที่คางชนิดนี้ คือ สิวไม่มีหัว แต่จริงๆ แล้วอาจเป็นสิวผดก็ได้ สิวผดมักจะขึ้นในช่วงที่อากาศร้อน หรือมีฝุ่นมาก ถ้าไม่มีปัจจัยดังกล่าวมากระตุ้นก็จะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา สิวผดไม่สามารถรักษาด้วยการบีบสิวได้ ดังนั้นห้ามบีบสิวชนิดนี้เด็ดขาด เพราะนอกจากไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังอาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นได้

ทำไมสิวขึ้นที่คางซ้ำได้

สิวขึ้นที่คาง อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิว เช่น ชอบจับ แกะ เกา ใบหน้า และคาง ฝุ่น มลภาวะ การใช้สกินแคร์ และเครื่องสำอางที่ไม่เหมาะกับสภาพผิว การใส่หน้ากากอนามัย หรือแม้กระทั่งความเครียด และการพักผ่อนน้อยก็ทำให้สิวขึ้นที่คางได้ และที่สำคัญเรื่องของฮอร์โมนซึ่งเป็นปัจจัยภายในร่างกาย ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวขึ้นที่คางเช่นกัน

เมื่อฮอร์โมนในกลุ่ม Androgen มีมากขึ้น จะทำให้เซลล์ในต่อมไขมัน (Sebocyte) เพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ต่อมไขมันสร้างซีบัมออกมามากกว่าปกติ ทำให้อุดตันรูขุมขน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิวได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีสิวขึ้นที่คาง หรือบริเวณจมูกและหน้าผากก่อนการเป็นประจำเดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่จะมีระดับฮอร์โมน Androgen มากกว่าปกติ

ดังนั้น หากช่วยไหนร่างกายมีระดับฮอร์โมน Androgen มีมากขึ้น ก็มีโอกาสทำให้เกิดสิวขึ้นที่คางได้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งเป็นคำตอบว่าทำไมสิวชอบขึ้นที่คางซ้ำๆ ได้นั่นเอง

วิธีรักษาสิวขึ้นที่คางโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

วิธีรักษาสิวขึ้นที่คางโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบ เช่น

ใช้ยาทาและรับประทานยารักษาสิวที่คาง

  • 2.5-5% Benzoyl Peroxide : ยาทาลดสิวอักเสบเป็นตุ่มแดง, ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 
  • Clindamycin : ยาทาปฏิชีวนะช่วยลดสิวอักเสบ และช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว
  • ยาทาอนุพันธ์วิตามินเอ : ยาทาลดสิวอุดตัน และละลายสิว Comedones ได้
  • ยาที่มีส่วนผสมของกรดกำมะถัน กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) รีซอร์ซินอล (Resorcinol) : ช่วยลดความมันของใบหน้า ลดการอักเสบของรูขุมขน

ข้อควรระวัง การใช้ยาทารักษาสิวในช่วงแรก อาจทำให้หน้าแห้งมากกว่าปกติได้ เกิดผิวแดงลอกได้ และไม่ควรใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพราะอาจทำให้เกิดสิวสเตียรอยด์ หรือการดื้อยาเพิ่มขึ้นได้

ถ้าสิวขึ้นที่คางเยอะ และมีการอักเสบร่วมด้วย การทายาสิวอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ อาจต้องรับประทานยาเพื่อรักษาสิวขึ้นที่คางร่วมด้วย ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน และยาบางตัวอาจต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ เช่น 

  • ยาปรับฮอร์โมน : ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนให้อยู่ในสภาวะปกติ   
  • ยาวิตามินเอสังเคราะห์ : ใช้รักษาสิวที่เป็นรุนแรง ช่วยลดความมันบนใบหน้า
  • ยาปฏิชีวนะ : ลดการอักเสบและทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น Doxycycline หรือ Tetracycline เป็นต้น ต้องควบคุมโดยแพทย์ เพราะอาจทำให้ดื้อยาได้
  • ยา Isotretinoin : ยับยั้งการทำงานของต่อมไขมัน ลดการอักเสบ

การกดสิวและการฉีดสิวที่คาง

สิวขึ้นที่คางสามารถรักษาได้ด้วยการกดสิว เป็นการใช้เข็ม หรืออุปกรณ์ช่วยดันสิวอุดตันที่คางออกมา เหมาะสำหรับสิวอุดตันหัวเปิด (สิวหัวดำ) มากกว่าสิวหัวปิด การกดสิวควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าหากกดออกมาไม่หมด หรือกดสิวผิดวิธี จะทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนอง เกิดเป็นสิวอักเสบแทรกซ้อนขึ้นได้ ในบางครั้งหลังการกดสิว มักทำหัตถการฉีดสิวร่วมด้วยหลังการกดสิว 

การฉีดสิว คือ การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ซึ่งก็คือยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) เข้าไปในที่เป็นบริเวณสิวเลย เพื่อลดการอักเสบ ช่วยให้สิวยุบได้เร็วกว่าการทายา  ที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็น หรือหลุมสิว เพราะหากปล่อยให้สิวอักเสบเรื้อรัง จะส่งผลให้เกิดแผลในชั้นผิวหนังมากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดแผลเป็นได้ การฉีดสิวเหมาะกับสิวขึ้นที่คางที่เป็นสิวอักเสบ บวมแดง นูน เป็นหนอง

การทำเลเซอร์

เลเซอร์รักษาสิวขึ้นที่คาง เป็นการใช้พลังงานแสงเลเซอร์ยิงเข้าสู่ผิว เพื่อเปิดหัวสิวออก ให้สามารถดันสิวอุดตันออกมาได้ง่ายขึ้น ทำได้ง่าย และเร็วกว่าการเจาะด้วยเข็มธรรมดา และยังสามารถเลเซอร์รอยดำ รอยแดงให้จางลงด้วย ช่วยป้องกันการเกิดหลุมสิว รวมทั้งช่วยให้หลุมสิวดูตื้นขึ้นได้อีกด้วย ทำให้ผิวหน้าดูกระจ่างใสควบคู่กันได้

สรุปบทความ

เรื่องของสิว เป็นปัญหาที่มักกวนใจเราอยู่เสมอ ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ และในบางครั้งก็ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณที่เกิดสิวได้ และสิวมักพบที่บริเวณคาง ซึ่งเกิดได้จากทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในร่างกาย การรักษาสิวอย่างถูกวิธีควรรักษาสิวขึ้นที่คางโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการรักษาได้อย่างตรงจุด ลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็น และเกิดการอักเสบเรื้อรัง

ทีมแพทย์ที่อทิตาคลินิก มีความเชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยเฉพาะ ยินดีให้คำปรึกษา และหาวิธีแก้ปัญหาสิวขึ้นที่คางของคุณได้อย่างตรงจุด มีถึง 7 สาขาทั่วกรุงเทพ สามารถปรึกษาปัญหาผิวกับแพทย์โดยตรงได้ที่สาขาใกล้บ้านทุกท่าน หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 094-324-4442

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า