สิวหิน หรือสิวข้าวสาร เป็นสิ่งที่หลายๆ คนสงสัยว่า ควรจัดอยู่ในกลุ่มสิวอุดตัน หรือซีสต์ขนาดเล็กกันแน่ สิวทั้งสองชนิดนี้เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย นอกจากจะส่งผลต่อความสวยงามแล้ว หากปล่อยไว้นานยังอาจทำให้รักษาได้ยากขึ้นด้วย สิวทั้งสองชนิดนี้เป็นสิวที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก แต่จริงๆ แล้ว สิวทั้งสองชนิดนี้เป็นสิวคนละชนิดกัน และเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันด้วย มาทำความรู้จักกับสิวทั้งสองชนิดนี้กัน
สิวข้าวสารคืออะไร
Table of Contents
สิวข้าวสาร และสิวหินเป็นสิวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่อย่างไรก็ตาม สิวข้าวสารและสิวหินไม่ใช่สิวชนิดเดียวกัน และมีสาเหตุที่แตกต่างกันด้วย ดังนี้
สิวข้าวสาร (Milia)
มีอาการแสดงคล้ายคลึงกับเม็ดสิว ทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า คือ สิว แต่แท้จริงแล้ว สิวข้าวสาร ถูกจัดอยู่ในกลุ่มซีสต์ที่มีผนัง มีส่วนประกอบของเคราติน (Keratin) อยู่ภายใน และไม่ใช่สิวอุดตัน สิวข้าวสารจะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ตื้นและแข็ง สีขาวคล้ายไข่มุกหรือเม็ดข้าวสาร มีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่มักพบบริเวณ ใบหน้า หน้าผาก แก้ม จมูก หรือเปลือกตา คล้ายสิวผด และอาจพบอาการคันร่วมด้วยได้
โดยส่วนใหญ่สิวข้าวสารมักหายเองได้ แต่ในบางกรณีอาจเป็นสิวข้าวสารเรื้อรังนานเกิน 3 เดือนแล้วยังไม่หาย ถ้าเป็นกรณีนี้ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง
สิวหิน (Syringoma)
เกิดจากเนื้องอกของต่อมเหงื่อ แต่ไม่ใช่เนื้อร้าย มีลักษณะเป็น ตุ่มเนื้อ แข็ง คล้ายสิวผด เกิดจากการเจริญเติบโตของต่อมเหงื่อที่ผิดปกติ มักเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตา หรือเปลือกตา แต่ในบางกรณีก็พบว่าสามารถเกิดได้ทั่วบริเวณส่วนอื่นๆ ของใบหน้า ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน เพียงแต่อาจจะสร้างความรำคาญใจ และทำให้เราเสียความมั่นใจเท่านั้น
สิวข้าวสารเหมือนกับสิวหินหรือไม่
อย่างที่เราได้กล่าวในข้างต้นว่าสิวข้าวสาร และสิวหิน แม้จะมีลักษณะของรอยโรคที่มีความคล้ายคลึงกันมาก จนคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคือสิวชนิดเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วสิวทั้งสองชนิดนี้ เป็นสิวคนละชนิดกัน มีความแตกต่างกันทั้งแหล่งกำเนิด อายุที่พบ และระยะเวลาที่เป็น
ถ้าสังเกตดีๆ สิวทั้ง 2 ชนิดนี้ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่ โดยสิวข้าวสารมีลักษณะเป็นสิวเม็ดเล็กๆ และแข็ง สีขาวคล้ายไข่มุก หรือเม็ดข้าวสาร และอาจมีอาการคันร่วมด้วย สามารถหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ส่วนสิวหินจะมีลักษณะเหมือนสิวสีเหลือง หรือออกตามสีผิวตามธรรมชาติ จะไม่มีอาการเจ็บปวดหรือคันร่วมด้วย
แนวทางการรักษาสิวข้าวสาร
โดยปกติสิวข้าวสารสามารถหายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่หากสร้างความรำคาญใจ สามารถบรรเทาอาการได้ดังนี้
การใช้ยาเพื่อกำจัดสิวข้าวสาร
สามารถใช้ยามิโนไซคลีน (minocycline) ซึ่งเป็นยาช่วยลดการอักเสบ กำจัดเชื้อที่อาจทำให้เกิดสิวข้าวสารเรื้อรัง หรืออาจใช้ยาที่มีส่วนผสมของกรดไตรคลอโรอะเซติก (Trichloroacetic acid) ไอโซเทรติโนอิน (Isotretinoin) หรืออาซิเทรติน (Acitretin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิว ใช้รักษาสิวที่รุนแรง แต่จัดเป็นกลุ่มยาที่อันตราย และต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์
หากเป็นสิวข้าวสารนานเกิน 3 เดือน หรือมีสิวข้าวสารจำนวนมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างถูกวิธี
เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Laser)
การเลเซอร์สิวข้าวสาร เป็นวิธีที่หมอส่วนใหญ่แนะนำ เพราะทำได้ง่าย เห็นผลจริง ขอบแผลเรียบสวย ไม่ต้องพักฟื้นนาน วิธีนี้จะเป็นการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวกลางในการทำให้เกิดแสงเลเซอร์ เพื่อใช้ทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังชั้นตื้นๆ ที่มีความผิดปกติ สามารถตัดทำลายชิ้นเนื้อ ติ่งเนื้อเล็กๆ ที่เป็นส่วนเกินบนใบหน้าออกได้ โดยไม่ทำให้เลือดออก หลังทำอาจบวมแดงได้เล็กน้อย และมีแผลตกสะเก็ด ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดอย่างน้อย 1 สัปดาห์
การจี้สิวข้าวสารด้วยไฟฟ้า (Electrosurgery)
จะคล้ายๆ กับการทำเลเซอร์ แต่จะใช้การปล่อยกระแสไฟฟ้าไปบริเวณที่เป็นสิวข้าวสาร ความร้อนจากเครื่องไฟฟ้าจะทำลายเนื้อเยื่อ และทำลายเส้นเลือดในก้อนเนื้องอกให้ฝ่อลง มีข้อควรระวัง คือ หากตั้งค่าพลังงานสูงเกินไป อาจทำให้ผิวเกิดเป็นรอยไหม้ที่แผลได้ จึงควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
จี้สิวข้าวสารด้วยไอเย็น (Cryotherapy)
การจี้สิวข้าวสารด้วยไอเย็น เป็นการใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลวกำจัดเนื้อเยื่อสิวข้าวสารที่ผิดปกติ ปัจจุบันวิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะเกิดแผลค่อนข้างใหญ่ และมีโอกาสเกิดแผลเป็นค่อนข้างมาก
ผ่าตัดสิวข้าวสาร (Surgical Excision)
การรักษาสิวข้าวสารด้วยการผ่าตัด มักใช้วิธีนี้เฉพาะกับเนื้องอกสิวข้าวสารที่มีขนาดใหญ่ หรือไม่สามารถใช้วิธีอื่นๆ รักษาได้แล้วเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้วิธีนี้ เพราะแม้จะผ่าตัดนำสิวข้าวสารออกมาจากผิวหนังได้ทั้งหมด แต่ก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจมีแผลเป็นหลังทำได้มากกว่าวิธีอื่นๆ
สรุปบทความ
สิวข้าวสารและสิวหิน แม้จะมีลักษณะรอยโรคที่คล้ายกัน แม้จะมีชื่อเรียกว่า สิว แต่แท้จริงแล้วสิวทั้ง 2 ชนิดนี้จะไม่จัดว่าเป็น สิว ตามคำนิยามของ สิว และแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายก็ตาม แต่ก็ส่งผลต่อความมั่นใจ และความสวยงามได้ โดยส่วนใหญ่สิวทั้งสองชนิดนี้จะหายได้เองตามธรรมชาติ แต่สำหรับคนไข้บางรายก็อาจมีอาการของสิวเหล่านี้เรื้อรังได้
หากเป็นสิวเหล่านี้นานเกิน 3 เดือนแล้วยังไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการรักษาได้อย่างถูกต้อง อทิตาคลินิก มีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในทุกๆ ปัญหาผิว สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ในทุกๆ สาขาของอทิตาคลินิก ทางเรายินดีบริการคุณเป็นอย่างดี และพร้อมให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย